วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดาหลา



ดาหลา


ดาหลา เป็นพืชล้มลุกประเภทใบเลี้ยงเดี่ยวชนิดหนึ่งซึ่งมีดอกที่สวยงาม โดยมีการปลูกมาเป็นระยะเวลานานแล้วทางภาคใต้ของไทย ซึ่งเดิมได้มี การนำหน่ออ่อนและดอกมาใช้เป็นผักประกอบอาหารบางประเภท ปัจจุบันได้มีการนำมาปลูก เป็นไม้ตัดดอกมากขึ้น เนื่องจากดาหลาเป็นไม้ดอกที่ให้ดอกดกในฤดูร้อน ขณะที่ไม้ดอกชนิด อื่น ๆ ไม่ค่อยจะมีดอก ประกอบกับดอกมีขนาดใหญ่ สีสดใส รูปทรงแปลกตา ทำให้เป็นที่สนใจ ของผู้พบเห็นและเป็นที่ต้องการของตลาด ดังจะเห็นได้จาก ความต้องการซื้อขายดอกที่ตลาด ปากคลอง มีปริมาณถึง 200-500 ดอกต่อสัปดาห์ มีมูลค่า 3,000 - 7,500 บาท นอกจากนี้ ยังสามารถส่งออกต้นพันธุ์ได้บ้าง แหล่งผลผลิตที่สำคัญได้แก่ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร อ.บางกรวย จ. นนทบุรี อ.ด่านมะขามเตี้ย จ. กาญจนบุรี อ. เมือง จ.กระบี่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์         
ลำต้น         
     ดาหลา เป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) เหง้านี้ จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม          
ใบ          
     มี รูปร่างยาวรี กลางใบกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ ใบไม่มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงท้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30-80 เซ็นติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร ปลายใบ แหลมฐานใบเรียวลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ
ดอก          
     ดอก ดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ (Bracts) มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่ มีความกว้างกลีบ 2-3 ซ.ม. จะมีสีแดงขลิบขาวเรียงซ้อนกันอยู่และจะบานออก ประมาณ 25-30 กลีบ และมีกลีบประดับ ขนาดเล็กอยู่ส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบประมาณ 1 ซ.ม. ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับ ขนาดใหญ่ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเข้าเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบ ประดับขนาดใหญ่ที่บานออกจะมีดอกจนิงขนาดเล็กกลีบดอกสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่ จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างดอกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ความยาวช่อ 10-15 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ลักษณะก้านช่อดอกแข็งตรง ดอก จะออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ดอกจะ พัฒนามาจากหน่อดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดินลักษณะของหน่อจะมีสีชมพู ที่ปลายหน่อ

ประโยชน์และสรรพคุณของดอกดาหลา
     ดอก ดาหลามีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เนื่องจากดอกดาหลามีกลิ่นหอมเฝื่อนๆ และอมเปรี้ยว จึงมักนิยมนำกลีบดอกไปยำ หรือจะนำดอกตูมและหน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด
อ้างอิง : http://panmainaiban.blogspot.com/2011/07/blog-post_19.html

ผีเสื้อแสนสวย



ผีเสื้อแสนสวย


ลักษณะทั่วไปต้นผีเสื้อแสนสวย
ต้น : ผีเสื้อแสนสวยเป็นไม้พุ่ม จะสูงประมาณ 1 - 1.5 เมตร พุ่มโปร่ง รูปทรงพุ่มกลม ขนาดพุ่มเป็นกอใหญ่ประมาณ 1 เมตร ลำต้นเมื่อแก่แล้วมีสีน้ำตาลเข้มไปสู่น้ำตาลอ่อน ลำต้นอ่อนออกเป็นสีเขียว
ใบ : เขียวตลอดทั้งใบ ผิวสัมผัสหยาบ
ดอก : ดอกเป็นสีฟ้า กับสีฟ้าอ่อนจนแทบขาว เมื่อดอกบานออกมาจะเหมือนผีเสื้อ มีทั้งปีกบนสองปีก ปีกล่างสองปีกข้างลำตัว มีหนวดเป็นเกสรตัวผู้ที่ยาวอย่างอ่อนช้อย

ฤดูกาลออกดอก : มีดอกตลอดทั้งปี ไม่มีกลิ่นหอม

สภาพการปลูก : ผีเสื้อแสนสวย ชอบดินร่วนเหนียว ความชื้นปานกลาง แสงแดดเต็มวัน

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง เพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง

การปลูกและดูแลรักษา : การปลูกผีเสื้อแสนสวยควรปลูกเป็นกอละ 6 ต้นต่อตารางเมตร หรือ 3 ต้นต่อตารางเมตร หรือปลูกเป็นลำต้นเดี่ยวๆ เป็นแถวยาว
อ้างอิง : http://panmainaiban.blogspot.com/2011/07/blog-post_16.html

นางแย้ม



นางแย้ม


นางแย้ม (Rose Clerodendrum) เป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อน พบทั่วไปตามป่าของประเทศไทย
นางแย้ม เป็นต้นไม้ทรงพุ่มตรง สูง 1-2 เมตร มีกลิ่นหอมเย็น ออกดอกเป็นช่อ ออกเป็นพวง ดอกเล็กๆ เช่นเดียวกับมะลิซ้อน หลายๆ ดอกซ้อนเรียงรายกัน สวยงามมาก พุ่มลำ ต้นเตี้ยสูงประมาณ 3-5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวจะออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะ ใบเป็นรูปใบโพธิ์
ลักษณะทั่วไป : นางแย้มเป็น ต้นไม้ประดับ ไม่สูงมากนัก มีกลิ่นหอมเย็น ออกดอกเป็นช่อ ออกเป็นพวงดอกเล็กๆ เช่นเดียวกับมะลิซ้อน หลายๆ ดอกซ้อนเรียงรายกัน สวยงามมาก พุ่มลำต้นเตี้ยสูงประมาณ 3-5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวจะออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะใบเป็นรูปใบโพธิ์ ตรงปลายแหลมแต่ไม่มีติ่ง ขอบใบหยักรอบใบ เมื่อขยี้จะมีกลิ่นเหม็น ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกจะเบียดเสียดติดกันแน่นในช่อ ช่อดอกหนึ่งกว้างประมาณ 4-5 นิ้ว ลักษณะดอกย่อยคล้ายดอกมะลิซ้อนสีขาว บานเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดงเป็นหลอดสั้น ปลายแยก 5-6 แฉก ดอกย่อยบานไม่พร้อมกันและบานนานหลายวัน มีกลิ่นหอมมากทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปีการปลูกและดูแลรักษา : นางแย้ม นั้นสามารถทนแดดและฝนได้เป็นอย่างดี ปลูกไว้กลางแจ้งจะได้ดอกใหญ่และสวยกว่า ดินปลูกควรเป็นดินร่วนซุย มีธาตุอาหารเพียงพอและมีความชื้นสูง นางแย้มเป็นไม้ที่ต้องการน้ำมากดังนั้นจึงจำเป็นต้องรดน้ำเป็นประจำอย่าให้ ขาด

การขยายพันธุ์ : ด้วยการเพาะเมล็ด

ประโยชน์ทางยา : เป็น ไม้ประดับ และมีสรรพคุณทางสมุนไพร ใบใช้ตำพอกแก้โรคผิวหนัง รากใช้ต้มดื่มแก้ปวดข้อ ริดสีดวงทวาร แก้หลอดลมอักเสบ รากฝนกับน้ำปูนใสทารักษาเริม งูสวัด ต้นใช้ต้มดื่มแก้กระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง ปวดข้อ ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ

อ้างอิง : http://panmainaiban.blogspot.com/2011/06/blog-post.html

ผกากรอง





ผกากรอง
     ลักษณะนิสัย :
ชนิดพืช [Plant Type]  ไม้คลุมดิน
ขนาด [Size] – สูง 30-45 เซนติเมตร
สีดอก [Flower Color] – สีเหลือง ขาว ส้ม ชมพู ม่วงอมชมพู หรือมีสองสีในช่อดอกเดียวกัน
ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Time] – ตลอดปี
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] – เร็ว
ลักษณะนิสัย [Habitat] – ชอบดินร่วน
ความชื้น [Moisture] – ปานกลาง
แสง (Light) – แดดเต็มวัน

     ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : เป็นไม้พุ่มที่พบทั่วไปในบ้านเรา เป็นพืชคลุมดิน ลำต้นเป็นพุ่มหรือไม้พุ่มกึ่งเลื้อย แตกกิ่งทอดเลื้อยได้ไกล 1-2 เมตร ใบจะมีสีเขียวเข้ม ใบรูปไข่ขอบใบจักเล็กน้อย ผิวใบจะมีขนอยู่ ทำให้รู้สึกสาก ๆ เมื่อจับต้อง ผกากรองนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ โดยอาจปลูกเป็นแถวหรืออาจปลูกเป็นกลุ่มให้เกิดเป็นพุ่มก็ได้
     ดอกของ ผกากรอง มีลักษณะสีสันที่สวยงามมาก มีหลายสีตั้งแต่เหลือง ขาว ส้ม ชมพู ม่วงอมชมพู หรือมีสองสีในช่อดอกเดียวกัน มีกลิ่นฉุน ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง ช่อละ 20-25 ดอก ดอกย่อยรูปกรวย โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4 แฉก ทยอยบานจากด้านนอกเข้าไปด้านในช่อดอก ช่อดอกบานเต็มที่กว้าง 3-4 เซนติเมตร
     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่ถึงรูปใบหอก กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-6 เซนติเมตร ปลายใบมนกึ่งแหลม โคนใบมน ขอบใบจักซี่ฟัน ผิวใบด้านบนสีเขียวเช้ม หนา มีขนสั้นสากมือ
     ผล (Fruit)ผลสดมีเนื้อ ทรงกลม สีเขียว เมื่อแก่สีม่วงดำ มีเมล็ดจำนวนมาก

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) ดอกสวย มีสีสัน ปลูกเป็นพุ่มคลุมดิน ริมถนน ทางเดิน ริมทะเล ริมน้ำตก ลำธาร ทรงพุ่มตัดแต่งได้

การดูแลรักษา:
แสง ต้องการแสงแดดจัด
น้ำ ต้องการน้ำน้อย
ดิน สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดแต่ดินที่เหมาะคือดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำดี
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้น

การขยายพันธ์:  โดยการเพาะเมล็ดและปักชำ (ส่วนใหญ่แล้วนิยมการปักชำเพราะสะดวกและรวดเร็วกว่า)

โรคและแมลง : ไม่ค่อยพบโรคและแมลงรบกวนเท่าไหร่
การใช้ประโยชน์จากต้นผกากรอง :
- เป็นไม้ประดับ เพราะดอกสวยงามและออกดอกดกตลอดปี ใช้ตกแต่งเป็นแนวรั้วได้อย่างดี
- ดอกใช้ห้ามเลือด, ใบ ดอก ราก ใช้แก้อักเสบ
- ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช
สารมีพิษและสรรพคุณ : ที่ ใบมีสารพิษคือแลนทานิน (Lantanin) เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงมาก โดยเฉพาะพวกแพะและแกะ พิษของผกากรองจะมีผลต่อระบบประสาทและจะส่งผลต่อตับ เมื่อสัตว์เลี้ยงกินเข้าไปจำนวนมากจะทำให้ตายได้ต้นผกากรอง สามารถแก้ผื่นคันที่เกิดจากความชื้นและรอยฟกช้ำที่เกิดจากการกระทบกระแทก

อ้างอิง : http://panmainaiban.blogspot.com/2011/06/blog-post_10.html